ทัวร์ต่างประเทศ : ตะวันออกกลาง>>ทัวร์ประเทศบาห์เรน>>BAHRAIN
ทัวร์บาห์เรน เที่ยวบาห์เรน แพคเกจทัวร์บาห์เรน Tour Bahrain
BAHRAIN THE GATE WAY TO THE GULF
ทัวร์บาห์เรน โดย ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์ ผู้บุกเบิกเส้นทางทัวร์บาห์เรน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และมีสำนักงานประจำประเทศซีเรีย ตั้งอยู่ที่ Al-Bahssa P O Box 14045, Damascus. Syria เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการท่องเที่ยวบาห์เรนและประเทศในแถบตะวันออกกลาง
สถานที่น่าสนใจในประเทศบาห์เรน
Qal’at al-Bahrain – Ancient Harbour and Capital of Dilmun (คาลัท อัล บาห์เรน ท่าเรือโบราณและเมืองหลวงของดีลมูน) คาลัท อัล บาห์เรนเป็นเนินดินที่เกิดจากการทับถมของการอยู่อาศัยของมนุษย์ ขนาด 300 x 600 เมตร จากการขุดค้นที่ดำเนินการไปแล้วประมาณ ๒๕% พบหลักฐานตั้งแต่ยุค 2,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ราว 1,750 ปี ก่อนพุทธศักราชจนถึงพุทธศตวรรษที่ 21) ประกอบด้วยหลักฐานสิ่งก่อสร้างประเภทต่าง ๆ อาทิ ที่อยู่อาศัย อาคารสาธารณะ อาคารพาณิชย์ ศาสนสถานและอาคารทางการทหาร แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแหล่งที่เคยเป็นเมืองท่าพาณิชย์ในช่วงเวลาหลายศตวรรษ บนเนินดินที่สูง 12 เมตรนี้เป็นที่ตั้งของป้อมของชาวโปรตุเกส อันเป็นที่มาของชื่อแหล่ง “คาลา (qal’a)” แปลว่า ป้อม แหล่งโบราณสถานนี้ยังเคยเป็นเมืองหลวงของดีลมูน (Dilmun) หนึ่งในอารยธรรมโบราณที่สำคัญที่สุดของภูมิภาค โดยปรากฎหลักฐานของอารยธรรมนี้อยู่เป็นจำนวนมากที่สุด ซึ่งแต่เดิมจะพบอยู่ในหลักฐานบันทึกของชาวสุเมเรียเท่านั้น
ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์ มีความชำนาญเส้นทางทัวร์บาห์เรน รู้ลึกรู้จริงในการทำทัวร์บาห์เรน และประเทศในตะวันออกกลาง จรดประเทศในแถบแอฟริกา เพื่อบริการทัวร์บาห์เรนแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ได้สัมผัสถึงอารยธรรมโบราณซึ่งมีประวัติศาสตร์อันน่าสนใจ และสามารถให้บริการทัวร์บาห์เรนในลักษณะแพคเกจทัวร์บาห์เรนเดินทางอิสระตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป หรือทัวร์บาห์เรนซึ่งเดินทางท่องเที่ยวบาห์เรนเป็นคณะ โดยจองตั่วเครื่องบินสู่ประเทศบาห์เรน จัดหาโรงแรมที่พักในบาห์เรน รถทัวร์บาห์เรน และไกด์ท้องถิ่นชาวบาห์เรนที่ชำนาญทัวร์บาห์เรนแก่ท่านที่สนใจเดินทางเป็นการส่วนตัวเพื่อการท่องเที่ยวและติดต่อธุรกิจในประเทศบาห์เรน ดูงานปิโตรเลียมบาห์เรน จัดงานประชุมสัมนาในประเทศบาห์เรน งานออกบูธแสดงสินค้าในประเทศบาห์เรน
ย่านธุรกิจ เมืองมานาม่า
ตลาดใจกลางกรุงมานาม่า
ป้อมปราการ แหล่งประวัติศาสตร์บาห์เรน
ศูนย์เพาะพันธุ์อูฐ สำหรับกีฬาแข่งอูฐ
แกรนด์โมสก์
ต้นไม้แห่งชีวิต Tree of Life
พยากรณ์อากาศบาห์เรน
ประเทศบาห์เรน (BAHRAIN)
ทัวร์ต่างประเทศ : ตะวันออกกลาง>> บาห์เรน>> BAHRAIN
ทัวร์บาห์เรน เที่ยวบาห์เรน แพคเกจทัวร์บาห์เรน Tour Bahrain
บาห์เรน (อังกฤษ : Bahrain ) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (อังกฤษ : Kingdom of Bahrain ; อาหรับ : مملكة البحرين ) เป็นประเทศเกาะ ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อ กับประเทศอื่นในอ่าวเปอร์เซีย
View แผนที่ทัวร์บาห์เรน เที่ยวบาห์เรน แพคเกจทัวร์บาห์เรน ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์ TOUR BAHRAIN MAP in a larger map
เกาะบาห์เรนเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกด้วยสะพานคิงฟาฮัด (เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ) ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง บาห์เรนตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ประกอบด้วยเกาะต่างๆประมาณ 33 เกาะในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งห่างจากฝั่งทะเลตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย 24 กิโลเมตรและห่างจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของกาตาร์ 27 กิโลเมตร
พื้นที่ ประมาณ 712 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงมานามา (Manama)
ภูมิอากาศ ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม-มีนาคม) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 19 - 29 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อน (เดือนเมษายน-ตุลาคม) อุณหภูมิอาจสูงถึง 49 องศาเซลเซียส
ประชากร ประมาณ 1 ล้านคน (2551
เชื้อชาติ ชาวบาห์เรน 62.4%, อื่นๆ 37.6%
ภาษา อาหรับ (ภาษาอังกฤษก็ใช้กันอย่างกว้างขวาง)
ศาสนา อิสลาม (ชีอะห์และสุหนี่) 85% คริสต์และอื่นๆ 15%
วันชาติ 16 ธันวาคม
วันประกาศเอกราช 15 สิงหาคม (ได้รับเอกราชจากอังกฤษปี 2514)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-บาห์เรน 17 มกราคม 2520
เวลา ช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง
ประมุขของประเทศ H.M. King Hamad bin Isa Al Khalifa
นายกรัฐมนตรี H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa
รัฐมนตรีต่างประเทศ H.E. Shaikh Khalid bin Ahmed bin Mohamed
Al Khalifa
การเมืองการปกครอง
ระบบการปกครอง
ราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
ซึ่งเป็นไปตามผลการลงประชามติของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์
2545 ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดี ฮามัด บิน อิซา
อัลคอลิฟะห์ (His Majesty King Hamad Bin Isa Al Khalifa) เสด็จ
ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2542
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
บาห์เรน เคยอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี 2363 โดยอำนาจการปกครองถูกแบ่งออกระหว่างเจ้าครองนครกับข้าหลวงอังกฤษ อิหร่านเคยอ้างสิทธิเหนือบาห์เรนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อปี 2523 อิหร่านยอมรับรายงานของ UN ที่แสดงข้อเท็จจริงว่าชาวบาห์เรนต้องการเป็นอิสระมากกว่าที่จะถูกรวมไว้กับอิหร่าน บาห์เรนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2514 ตามสนธิสัญญามิตรภาพฉบับใหม่ที่ทำกับอังกฤษ หลังจากที่ความพยายามในการรวมประเทศกับกาตาร์และ Trucial States (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นสหพันธรัฐไม่ประสบความสำเร็จ
บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ ในปี 2475 และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและซาอุดีอาระเบีย
การเมืองการปกครอง
1. บาห์เรนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2514 หลังจากนั้น สมเด็จพระราชาธิบดีอิซา บิน ซัลมาน อัลคอลิฟะห์ ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองรัฐ (Emir) จนถึงปี 2542 และสมเด็จพระราชาธิบดีฮามัด บิน อิซา อัลคอลิฟะห์ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2542 สืบต่อจากพระราชบิดาซึ่งเสด็จสวรรคต ต่อมา สมเด็จพระราชาธิบดีฮามัด บิน อิซา อัลคอลิฟะห์ ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และทรงเปลี่ยนชื่อประเทศจากรัฐบาห์เรน (State of Bahrain) เป็นราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain) ในปี 2545
2. ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ เชคคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัล คอลิฟะห์ (Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa) ซึ่งเป็นพระปิตุลาของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบาห์เรน รัฐสภาบาห์เรนประกอบด้วย สภาที่ปรึกษา (Shura Council) เทียบเท่าวุฒิสภา จำนวน 40 คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ และสภาผู้แทนราษฎร (Nuwwab Council) จำนวน 40 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การตัดสินใจทางการเมืองการปกครองขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์และนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ สมาชิกพระราชวงศ์อัลคอลิฟะห์ ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะกระทรวงด้านความมั่นคง เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น
3. รัฐบาลบาห์เรนได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง และพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2545 บาห์เรนได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
4. การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ของบาห์เรน มีขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2549 และมีการเลือกตั้งซ่อมในบางเขตเลือกตั้ง เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2549 โดยสมาคมการเมือง Al Wefaq Society ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านเคร่งศาสนาอิสลามนิกายชีอะต์ที่ได้คว่ำบาตรการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก ได้รับเลือกตั้งถึง 17 ที่นั่ง จาก 40 ที่นั่ง
5. ด้านการทหาร กองทัพบาห์เรนมีกำลังพล 11,200 คน เป็นทหารบก 8,500 คน ทหารเรือ 1,200 คน ทหารอากาศ 1,500 คน ทั้งนี้ การที่บาห์เรนเป็นประเทศเล็กและมีกำลังพลจำกัด จึงพึ่งพาประเทศสมาชิก อื่นๆ ในคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council – GCC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดีอาระเบีย ในการป้องกันประเทศ
นโยบายต่างประเทศ
บาห์เรนเป็นประเทศอาหรับที่ดำเนินนโยบายสายกลาง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ใน GCC โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดีอาระเบีย ซึ่งให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และคูเวต นอกจากกลุ่มประเทศ GCC แล้ว บาห์เรนยังมุ่งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ (League of Arab States หรือ Arab League) เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
ในด้านความสัมพันธ์กับอิหร่านมีแนวโน้มที่ดีขึ้น นับตั้งแต่นาย Mohammed Khatami ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อปี 2540 ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีฮามัดได้เสด็จฯ เยือนอิหร่านเมื่อปี 2545 ซึ่งนับเป็นการเยือนอิหร่านครั้งแรกของพระประมุขบาห์เรนตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน (Islamic Revolution) เมื่อปี 2522 อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่นาย Mahmoud Ahmadinejad สมาชิกกลุ่มการเมืองหัวรุนแรงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านในเดือนมิถุนายน 2548 บาห์เรนได้ดำเนินความสัมพันธ์กับอิหร่านในลักษณะระมัดระวังมากขึ้น
สำหรับความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก บาห์เรนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร บาห์เรนเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา (The Fifth Fleet) บาห์เรนสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในการส่งกองกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานและได้รับสถานะ Major Non-NATO Ally (MNNA) ในปี 2545 นอกจากนี้ บาห์เรนยังเป็นประเทศแรกในตะวันออกกลางที่เจรจาจัดทำ FTA กับสหรัฐอเมริกาเป็นผลสำเร็จ
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบาห์เรนได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ แสดงความมุ่งมั่นของรัฐบาลบาห์เรนที่จะส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มก่อการร้าย เรียกร้องให้อิสราเอลถอนกองกำลังจากเลบานอนและประเทศอาหรับทุกประเทศ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์เป็นประเทศเอกราช สนับสนุนความร่วมมือในการทำให้ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นเขตปลอดจากอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้สะท้อนถึงภูมิศาสตร์ทางการเมืองในปัจจุบัน
เศรษฐกิจการค้า
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1 (ไทย 2.6%)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 18.97 พันล้าน USD (ไทย 273.4 พันล้าน USD)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 18,979 USD (ไทย 4,081 USD)
ปริมาณน้ำมันสำรอง 125 ล้านบาร์เรล
สถิติที่สำคัญระหว่างไทย-บาห์เรน
มูลค่าการค้าไทย-บาห์เรน 336.9 ล้าน USD เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.7 จากปี 2550 ไทยส่งออก 142.06 ล้าน USD
สินค้าส่งออกของไทย รถยนต์ อัญมณี เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรกล ทองแดง
สินค้านำเขาจากบาห์เรน สินแร่โลหะ ปุ๋ย น้ำมันสำเร็จรูป เหล็ก เครื่องจักรกล
การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวไทยไปบาห์เรน (ปี 2550) ประมาณ 4,525 คน (เพิ่มขึ้น 8% จากปี 2549)
จากบาห์เรนมาไทย (ปี 2551) 14,910 คน (เพิ่มขึ้น 4.88% จากปี 2550)
คนไทยในบาห์เรนประมาณ 4,000 คน เป็นแรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือจำนวน 2,000 คน คนไทยที่ประกอบกิจการร้านอาหารไทย ช่างทำผม ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าพร้อมครอบครัวประมาณ 1,000 คน
การตรวจลงตรา คนไทยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา (Free Visa) จากรัฐบาลบาห์เรนและสามารถพำนักอยู่ใน บาห์เรนได้เป็นเวลา 14 วัน และนักท่องเที่ยวบาห์เรนได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและสามารถพำนักอยู่ในไทยได้ไม่เกิน 30 วัน
สำนักงานบาห์เรน สถานเอกอัคราชทูตบาห์เรนประจำไทย(เปิดทำการเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2550)
สำนักงานไทย สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำบาห์เรน
ปริมาณก๊าซสำรอง 92.03 พันล้าน ลบม.
ปริมาณการผลิตน้ำมัน 217,000 บาร์เรล/วัน
ทรัพยากร น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ทรัพยากรทะเล
สกุลเงิน บาห์เรนดีนาร์ (BHD) (1 BHD: 90-100 บาท)
อุตสาหกรรม การผลิตและกลั่นน้ำมัน อะลูมิเนียม ปุ๋ย
สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมันดิบ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกสำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำมันกลั่น อะลูมิเนียม สิ่งทอ
ตลาดน้ำเข้าสำคัญ ซาอุดีฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐฯ
ตลาดส่งออกสำคัญสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรบาห์เรน
ความสัมพันธ์ทั่วๆ ไป
ไทยและบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บาห์เรนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่ประเทศในตะวันออกกลางในหลายมิติ นายกรัฐมนตรีบาห์เรนทรงชื่นชมพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง ทรงโปรดประเทศไทยและอัธยาศัยไมตรีของคนไทย และเสด็จมาพักผ่อนที่ประเทศไทยเป็นประจำทุกปี และทรงเป็นบุคคลสำคัญซึ่งอยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศทั้งสอง อนึ่ง นายกรัฐมนตรีบาห์เรนทรงเป็นผู้สั่งการให้อำนวยความสะดวกในการติดต่อนัดหมายให้คณะผู้แทนไทยเข้าเฝ้าราชวงศ์ในตะวันออกกลางหลายราชวงศ์เพื่อกราบบังคมทูลเชิญร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติ
ครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือนมิถุนายน 2549
ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์การเมืองไทย-บาห์เรนพัฒนาอย่างรวดเร็ว ภายหลังการเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศทั้งสองเป็นประจำ สถานเอกอัครราชทูตบาห์เรน ณ กรุงปักกิ่ง เคยมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย ต่อมา รัฐบาลบาห์เรนได้ขอความเห็นชอบเปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549 และเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 ฝ่ายบาห์เรนได้เปิดที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตบาห์เรนประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานเอกอัครราชทูตบาห์เรนเพียงแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ยังไม่มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
บาห์เรนสนับสนุนไทยในการแก้ไขภาพลักษณ์ของไทยในประเด็นเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ในเวทีองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference - OIC) เป็นสื่อกลางในความพยายามปรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย อีกทั้งยังให้ข้อสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แก่ไทย นอกจากนี้ บาห์เรนยังได้ให้การสนับสนุนการสมัครดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เมื่อปี 2549 อย่างเข้มแข็ง นายกรัฐมนตรีบาห์เรนทรงมีความห่วงใยต่อเหตุระเบิด 8 จุด ที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เมื่อ 31 ธันวาคม 2549 แต่ได้แสดงความมั่นใจว่าทางการไทยจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เป็นอย่างดีโดยได้เป็นผู้นำต่างประเทศคนแรกที่เสด็จเยือนประเทศไทยภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ระหว่างวันที่ 10–12 มกราคม 2550
ด้านเศรษฐกิจ
บาห์เรนยังเป็นตลาดเล็กสำหรับไทย โดยในปี 2550 เป็นคู่ค้าลำดับที่ 65 ของไทย (และที่ 11 จาก 15 ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง) มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย–บาห์เรนในรอบ 4 ปี (2547-2550) เฉลี่ยปีละ 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า โดยเป็นการนำเข้าและการส่งออกเฉลี่ยปีละ 136 และ 73 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ การนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ยกเว้นปี 2550 ที่ไทยนำเข้าจากบาห์เรนลดลง ส่วนการส่งออกของไทยนั้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอทุกปี โดยในปี ขยายตัวจากปี 2549 (ค.ศ. 2006) ร้อยละ 21.5
สินค้าออกที่สำคัญของไทยไปบาห์เรน ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ตู้เย็น ผลิตภัณฑ์พลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป ทองแดง และผลิตภัณฑ์ทองแดง ผ้าผืน อัญมณีและเครื่องประดับ และเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากบาห์เรน ได้แก่ สินแร่โลหะ น้ำมันสำเร็จรูป ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน เหล็กและเหล็กกล้า รถยนต์ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น
นายกรัฐมนตรีบาห์เรนได้ทรงพยายามชักจูงและผลักดันให้นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในบาห์เรน โดยได้ทรงสนับสนุนให้สมาคมผู้ลงทุนและผู้ประกอบการในต่างประเทศของไทย (Overseas Business Investment Association - OBIA) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัท Promoseven ของบาห์เรน ร่วมมือกันจัดตั้งศูนย์ Thai Business Center (TBC) ภายใต้พระอุปถัมภ์ เป็นศูนย์ส่งเสริมการค้าของไทยที่กรุงมานามา เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 โดยเน้นการแสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยทั้งในด้านสินค้าและบริการ 6 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง สินค้าหัตถกรรมชุมชน สปาและการแพทย์ไทย สินค้ากลุ่มแฟชั่น ร้านอาหารไทย และ supermarket จัดจำหน่ายผลไม้สด อาหารสดและแช่แข็ง และอาหารฮาลกระป๋อง
ทั้งนี้ รัฐบาลบาห์เรนได้ให้เงินอุดหนุนสถานที่เช่าที่ทำการของศูนย์ TBC โดยในปี 2549 ออกให้ร้อยละ 100 เป็นเงิน 10 ล้านบาท ปีที่ 2 และ 3 ฝ่ายไทยต้องออกครึ่งหนึ่ง เป็นเงินปีละ 5 ล้านบาท แต่ต่อมาเมื่อปลายปี 2550 นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและนักธุรกิจไทยที่ร่วมทุนเข้าไปบริหารศูนย์ TBC ได้แจ้งขอยุติบทบาทของโครงการศูนย์ TBC โดยให้เหตุผลว่า มีค่าใช้จ่ายสูง
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลรับสิทธิ์สัมปทานการสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในแปลงสำรวจนอกชายฝั่งที่ 2 และอยู่ระหว่างการเจรจาการลงนามความตกลงกับ National Oil and Gas Authority (NOGA) ของบาห์เรน และเมื่อเดือนตุลาคม 2550 ปตท.สผ.ได้ยื่นประมูลแปลงบนบกเพิ่มเติม
ไทยและบาห์เรนได้เจรจาที่จะจัดทำ FTA ระหว่างกัน 4 ครั้ง แต่จากการที่บาห์เรนจัดทำ FTA กับสหรัฐอเมริกา ทำให้ได้รับการกดดันจากประเทศ GCC อื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยที่บาห์เรนจะจัดทำ FTA เป็นรายประเทศ บาห์เรนจึงเสนอให้ปรับการเจรจา FTA ไทย-บาห์เรน เป็น FTA ไทย-GCC แทน ซึ่งฝ่ายไทยเห็นด้วยในหลักการ แต่ยังมิได้เริ่มเจรจาในกรอบใหม่แต่อย่างใด
ปัจจุบันมีคนไทยในบาห์เรนประมาณ 4,000 คน เป็นแรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือ จำนวน 2,000 คน คนไทยที่ประกอบกิจการร้านอาหารไทย ช่างทำผม ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าพร้อมครอบครัวประมาณ 1,000 คน อย่างไรก็ตาม จากการที่คนไทยสามารถเดินทางเข้าบาห์เรนได้โดยไม่มีวีซ่า (พำนักอยู่ในบาห์เรนได้ 14 วัน) ทำให้มีการลักลอบเข้าเมืองและอยู่อาศัยในบาห์เรนอย่างผิดกฎหมาย จำนวนกว่า 1,000 คน และมีปัญหาหญิงไทยไปค้าประเวณีในบาห์เรนจำนวนมาก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่กรุงมานามา และเมืองริฟฟา (เมืองท่องเที่ยวของบาห์เรน) และเมืองมูฮารัค (เป็นเมืองใหญ่ของบาห์เรนและเป็นที่ตั้งของ Bahrain International Airport)
ความร่วมมือด้านพลังงาน
- บาห์เรนมีศักยภาพด้านปิโตรเลียมระดับปานกลาง นอกเหนือจากแหล่งน้ำมัน Awali ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีการค้นพบและผลิตตั้งแต่ปี 2475 และแหล่ง Abu Safah ซึ่งอยู่ในพรมแดนคาบเกี่ยวกับซาอุดีอาระเบียแล้ว จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่เพิ่มเติม
- เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2548 ปตท.สผ. และ บริษัท Bahrain Petroleum Company (BAPCO) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการด้านน้ำมันของรัฐบาลบาห์เรน ได้ลงนามความตกลง Technical Evaluation Agreement (TEA) เพื่อร่วมกันศึกษาแปลงสัมปทานน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งทะเลหมายเลข 1 และ 2 และ ปตท.สผ. พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะพบแหล่งน้ำมันขนาดเล็กในแปลงสำรวจดังกล่าว
- เมื่อต้นปี 2549 ปตท.สผ. ได้แจ้งความประสงค์ที่จะขอเจรจาสัญญาการขอสิทธิในการสำรวจและแบ่งปันผลประโยชน์ Exploration and Production Agreement (EPSA) ในแปลงสำรวจดังกล่าวต่อทาง BAPCO และ National Oil and Gas Authority (NOGA) ของบาห์เรน
- ผลการเจรจาทาง NOGA ได้ตอบปฏิเสธข้อเสนอของ ปตท.สผ. และขอเปิดการประมูลแปลงสำรวจทั้งสองใหม่ โดย NOGA ได้เปิดการประมูลแปลงสำรวจนอกชายฝั่งจำนวน 4 แปลง ซึ่งรวมถึงแปลงสำรวจนอกชายฝั่งหมายเลข 1 และ 2 ที่ ปตท.สผ. ดำเนินการศึกษามาแล้ว
- เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2550 ออท. ณ กรุงมานามา ได้เข้าเยี่ยมคารวะ Dr.Abdul Hussain bin Ali Mirza รมต. น้ำมันและก๊าซบาห์เรน โดย Dr.Mirza ได้กล่าวเกี่ยวกับ การประมูลการสำรวจปิโตรเลียมในทะเล (Offshore Exploration Bid) ระดับนานาชาติ สำหรับแปลงสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 4 แปลง ว่าต้องการเห็น ปตท.สผ. เข้าร่วมการประมูล โดยเชื่อว่า จะได้เปรียบคู่แข่ง เนื่องจากมีข้อมูลด้านเทคนิคเกี่ยวกับแปลงที่ 1 และ 2 อยู่แล้ว และหาก ปตท.สผ. ต้องการแปลง 3-4 ด้วย ฝ่ายบาห์เรนก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ Dr.Mirza ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่าบาห์เรนอยู่ระหว่างการร่วมมือกับกาตาร์เพื่อศึกษาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าและในอนาคตบาห์เรนมีโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ (Liquefied Natural Gas-LNG) หากภาคเอกชนของไทยสนใจร่วมลงทุนกับบาห์เรนในโครงการดังกล่าว ฝ่ายบาห์เรนก็ยินดีเช่นกัน
- ปตท.สผ. ชนะการประมูลได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตในแปลงสำรวจนอกชายฝั่งที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งทะเลทางทิศเหนือของประเทศบาห์เรน มีพื้นที่รวมประมาณ 2,228 ตร.กม. และได้ลงนามในสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์ EPSA กับ NOGA เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2551 โดย ปตท.สผ. จะเริ่มสำรวจทางธรณีวิทยาตลอดปี 2551 และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการขุดเจาะในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552
- เมื่อเดือนตุลาคม 2550 ปตท.สผ.ได้ยื่นประมูลแปลงบนบกเพิ่มเติม คาดว่าจะทราบผลภายในปี 2551
- เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2551 เอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามา นำคณะผู้แทน ปตท.สผ. ประกอบด้วยนายสมพร วงศ์วุฒิพรชัย รองประธานบริษัท ปตท.สผ. และผู้แทนอีก 6 คน ซึ่งเดินทางเข้าร่วมการประชุม Management Committee เพื่อการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งบาห์เรน ครั้งที่ 1 (เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2551) พร้อมด้วย รัฐมนตรีว่าการกิจการน้ำมันและก๊าซบาห์เรน และ Shaikh Salman bin Khalifa
Al Khalifa พระโอรสและที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีบาห์เรน เข้าเฝ้านายกรัฐมนตรีบาห์เรน และนายกรัฐมตรีบาห์เรนตรัสว่ามีพระประสงค์จะเปิดโอกาสให้ไทยเป็นต่างชาติประเทศแรกที่ดำเนินการขุดเจาะและสำรวจน้ำมันและก๊าซในบาห์เรน อีกทั้งมีพระประสงค์ให้บาห์เรนเป็นตัวอย่างแก่ประเทศใน GCC ในการแสดงศักยภาพของ ปตท.สผ.และหวังว่า ปตท.สผ. จะช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบาห์เรน ทั้งนี้ นายสมพรฯ กล่าวขอบพระทัยในพระกรุณาธิคุณต่อการสนับสนุนของนายกรัฐมนตรีบาห์เรน และแจ้งว่าขณะนี้ ปตท.สผ. ได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่มาเริ่มปฏิบัติงานบางส่วนแล้ว และได้รับความร่วมมือจากบริษัท BAPCO ในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี
ด้านการศึกษา
- ระหว่างการเยือนบาห์เรนของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ระหว่าง 10-12 ธันวาคม 2551 นายกรัฐมนตรีได้พบหารือกับ นายกรัฐมนตรีบาห์เรน และไทยแสดงความสนใจที่จะขอรับความช่วยเหลือจากฝ่ายบาห์เรนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ (ปิโตรเคมี) การเงินและการธนาคาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายบาห์เรนยินดีให้ความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาแก่นักศึกษาไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- ระหว่างวันที่ 17-25 มิถุนายน 2551 นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะ เดินทางเยือนตะวันออกกลาง รวมถึงบาห์เรน และได้หารือกับรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและวิชาการของมหาวิทยาลัยบาห์เรนเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการศึกษา และรายละเอียดของค่าใช้จ่ายและคุณสมบัติของนักศึกษา
- เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามา แจ้งว่ารองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีบาห์เรนได้แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีบาห์เรน มีพระกรุณาธิคุณมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาไทยมุสลิมจำนวน 10 ทุน โดยจะจัดบัตรโดยสารเครื่องบินไปกลับกรุงเทพฯ-บาห์เรน ปีละ 1 ครั้ง และเงินค่าใช้จ่ายเดือนละ 60 ดีนาร์ และมหาวิทยาลัยจะรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการศึกษา ตำราเรียน และจัดหาที่พักให้นักศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี
- ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้คัดเลือกนักศึกษาไทยมุสลิมรวมทั้งสิ้น 8 คน ไปศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ 3 คน สาขาบริหารธุรกิจ 2 คน และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 คน ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้ได้มีโอกาสเข้าเฝ้านายกรัฐมนตรีบาห์เรนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551 ระหว่างพระองค์เสด็จเยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์
ด้านสังคมวัฒนธรรม
ในขณะนี้ ประเทศไทย และบาห์เรน ยังไม่มีความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี ชาวบาห์เรนส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยกับประเทศไทย เนื่องจากนิยมเดินทางมาพักผ่อนในประเทศไทย
ความตกลง
2.1 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและวิชาการ ลงนามเมื่อวันที่
3 พฤศจิกายน 2544
2.2 ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2544
2.3 ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนาม เมื่อ 21 พฤษภาคม 2545
2.4 ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน (High Joint Commission) ลงนามเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2545 ที่กรุงมานามา
2.5 ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549
2.6 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ลงนาม เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550
2.7 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข ลงนาม เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551
ความตกลงที่ค้างอยู่
- ความตกลงด้านวัฒนธรรม และความตกลงความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ไทยเสนอร่างความตกลงทั้งสองฉบับให้ฝ่ายบาห์เรนพิจารณา และเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551 กระทรวงการต่างประเทศบาห์เรนแจ้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามาว่าว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบาห์เรนเห็นชอบในการลงนามแล้ว และส่งร่างความตกลงที่ฝ่ายบาห์เรนเสนอมาให้หน่วยงานไทยพิจารณา ขณะนี้ ฝ่ายไทยกำลังดำเนินการเพื่อให้สามารถลงนามความตกลงดังกล่าวได้ระหว่างการประชุม HJC ครั้งที่ 2
การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
• สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของมกุฎราชกุมารบาห์เรนในขณะนั้น (สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบัน) ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2532
รัฐบาล
• พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 10 - 11 มิถุนายน 2545
•ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2541 เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
•ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 29 มีนาคม - 1 เมษายน 2545 เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
- วันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2547 เยือนบาห์เรนเพื่อร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย– บาห์เรน ครั้งที่ 1 และเป็นประธานในพิธีเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามาอย่างเป็นทางการ
•ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี
- วันที่ 20-25 พฤศจิกายน 2548 เยือนบาห์เรนและประเทศ GCC เพื่อกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระราชาธิบดีบาห์เรน และเจ้าผู้ครองรัฐ GCC เสด็จฯ เยือนไทยเพื่อร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- วันที่ 24-27 เมษายน 2549 เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ เพื่อเปิดศูนย์ Thai Business Center ณ กรุงมานามา
•ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- วันที่ 8-10 เมษายน 2545 เยือนบาห์เรนเพื่อเข้าร่วมการประชุม Gulf Investment Forum
•นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- วันที่ 29 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2545 เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- วันที่ 7-8 เมษายน 2547 เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
•นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี
- วันที่ 28-29 เมษายน 2547 นำคณะส่งเสริมอาหารฮาลาลไทยเยือนบาห์เรน
•นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2548 เยือนบาห์เรน ภายหลังจากการประชุม Islamic Conference of Foreign Ministers ครั้งที่ 32 ที่กรุงซานอา ประเทศเยเมน
- วันที่ 21-23 พฤษภาคม 2549 เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
•นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 27-29 ตุลาคม 2549 เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
•นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 20-22 เมษายน 2550 เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ
•นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เดินทางเยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2550
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปประชุม ASEAN-GCC ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2552
ฝ่ายบาห์เรน
พระราชวงศ์
• H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีบาห์เรน
- เสด็จเยือนไทย ในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาล และทรงเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2544
- เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Working Visit ระหว่างวันที่ 1 - 3 พฤศจิกายน 2544
- เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Working Visit ระหว่างวันที่ 20 - 22 พฤศจิกายน 2545
- เสด็จร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะผู้แทนราชอาณาจักรบาห์เรน ระหว่างวันที่ 11 - 29 มิถุนายน 2549
- เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาล (Official Visit) และทรงเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 10 - 12 มกราคม 2550
- วันที่ 7-19 มีนาคม 2551 เสด็จเยือนไทยเป็นการเพื่อเข้าร่วมงาน GASTECH 2008 และได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ในวันที่ 10 และ 14 มีนาคม 2551 ตามลำดับ
รัฐบาล
• H.E. Shaikh Mohammed bin Mubarak Al Khalifa รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบาห์เรน เยือนไทยเพื่อร่วมการประชุม Asia Cooperation Dialogue จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2545
• H.E. Mr. Ali Saleh Al Saleh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์บาห์เรน เยือนไทยเพื่อร่วมการประชุม Asia Cooperation Dialogue ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2546
• H.E. Dr. Majeed bin Muhsen Al Alawi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมบาห์เรน เยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 15-19 กันยายน 2547
• H.E. Mr. Fahmi bin Ali Al Jowder รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาและการเคหะบาห์เรน เยือนไทยระหว่างวันที่ 27 - 30 ธันวาคม 2547
• H.E. Mr. Abdulla Hassan Saif ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีบาห์เรน (ตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี)
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ระหว่างเยือนไทยเป็นการส่วนตัว
- วันที่ 2 เมษายน 2550 เข้าเยี่ยมคารวะ นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
• H.E. Dr Hassan Abdulla Fakhro รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์บาห์เรน
- วันที่ 16-21 พฤษภาคม 2551 เยือนไทยและได้เข้าเยี่ยมคารวะนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
• H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรนเดินทาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 9-11 สิฝหาคม 2552
ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมานามา นายสุพัฒน์ จิตรานุเคราะห์
Royal Thai Embassy
Villa No132, Road 66
Block 360, Zinj Area,
Manama, P.O. Box 26475
Tel. (973) 1724-6242
Fax. (973) 1727-2714
E-mail: thaimnm@mfa.go.th
ฝ่ายบาห์เรน
เอกอัครราชทูตบาห์เรนประจำประเทศไทย H.E. Mr. Adel Yousif Sater
Embassy of the Kingdom of Bahrain
Sathorn Nakhon Tower, 31st Fl.,
100/66-67 North Sathorn Rd.,
Bangrak, Bangkok 10500
Tel: 0-2636-7892-6, 0-2636-9467-9
Fax: 0-2636-7459
E-mail: bangkok.mission@mofa.gov.bh
*****************
30 ธันวาคม 2552
เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5000 ต่อ 2058 E-mail : southasian03@mfa.go.th
ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์ ให้บริการ แลนด์บาห์เรน จัดทัวร์บาห์เรน แพคเกจทัวร์บาห์เรน คณะทัวร์บาห์เรน ข้อมูลท่องเที่ยวบาห์เรน ตั๋วเครื่องบินสู่ประเทศบาห์เรน จองโรงแรมที่พักบาห์เรน จัดประชุมสัมนาที่ประเทศบาห์เรน งานแสดงสินค้าที่ประเทศบาห์เรน รถทัวร์บาห์เรน ชมการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวันที่บาห์เรน
รับจัดทัวร์บาห์เรนกรุ๊ปพิเศษสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปสัมผัสประเทศบาห์เรน ด้วยตนเอง
ติดต่อ ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์ แลนด์บาห์เรนในประเทศไทย
โทร. 02-4282114
Email: u.travel@hotmail.com
ทัวร์ต่างประเทศ : ทัวร์ประเทศบาห์เรน BAHRAIN
โปรแกรมทัวร์บาห์เรนแยกตามเดือน
* ทัวร์บาห์เรน เดือนมกราคม
* ทัวร์บาห์เรน เดือนกุมภาพันธ์
* ทัวร์บาห์เรน เดือนมีนาคม
* ทัวร์บาห์เรน เดือนเมษายน
* ทัวร์บาห์เรน เดือนพฤษภาคม
* ทัวร์บาห์เรน เดือนมิถุนยน
* ทัวร์บาห์เรน เดือนกรกฎาคม
* ทัวร์บาห์เรน เดือนสิงหาคม
* ทัวร์บาห์เรน เดือนกันยายน
* ทัวร์บาห์เรน เดือนตุลาคม
* ทัวร์บาห์เรน เดือนพฤศจิกายน
* ทัวร์บาห์เรน เดือนธันวาคม